เตรียมพร้อม GAT-PAT โค้งสุดท้าย
อยากเพิ่มคะแนนสอบ GAT-PAT ช่วงโค้งสุดท้าย?เริ่มเรียนวันนี้จนถึงโค้งสุดท้ายสิ้นเดือนมีนาคม การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ ได้ผลลัพธ์ที่ดีและสนุกสนาน
GAT/PAT
GAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ มี 2 ส่วน คือ
- ส่วนที่ 1 คือ ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา
- ส่วนที่ 2 คือ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย
- Speaking and Conversation
- Vocabulary
- Structure and Writing
- Reading Comprehension
GAT เป็นการสอบที่ดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีความพร้อมในการจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยแค่ไหน
PAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา คือ
- PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
- PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
- PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
- PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
- PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
- PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
- PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
- PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
- PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
- PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
- PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
- PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
- PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
PAT เป็นการสอบที่จะดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีแววจะเข้าสู่เส้นทางอาชีพในคณะที่เลือกไหม
เตรียมสอบ GAT English แบบ speak speak
ทำข้อสอบก็ได้ สำเนียงก็ดีไปพร้อมกับครูพี่เบนซ์เน้นสอนตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงการประยุกต์ทั้งในชีวิตประจำวันและการทำข้อสอบ ประกอบการสอนไปด้วย ทบทวนพื้นฐาน grammar พร้อมทั้งเทคนิคการท่องศัพท์ และโจทย์กว่า 1,500 ข้อให้ฝึกทำกันอย่างจุใจ
ดูเพิ่มเติม
1.Word Formation
2.Parts of Speech
3.Noun-Pronoun Agreement
4.Noun Clause
5.Finite & Non Finite Verbs
6.Subject & Verb Agreement
7.Tenses
8.Conditional Sentences
9.Quantifiers
10.Passive Voice
11.Subjunctive
12.Relative Pronouns
13.Adjective & Adverb
ครูเบนซ์อาจารย์ไบร์อั่น สอนละเอียด สนุก เข้าใจง่าย นอกจากเนื้อหาแล้วอาจารย์ไบอั่นยังสอนวิธีการออกเสียงที่ถูกต้องและการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันแบบเจ้าของภาษาจริงๆ
เตรียมสอบ PAT 1 ละเอียดยิบทุกขั้นตอน
การที่จะทำ PAT 1 ได้คะแนนดีนั้นต้องมีทั้งพื้นฐานคณิตศาสตร์ที่แน่นและการฝึกฝนประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำโจทย์อย่างสม่ำเสมอ Quipper เน้นสอนคณิตศาสตร์อย่างละเอียดไล่ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงการประยุกต์ใช้ในข้อสอบ เรามีวีดีเรามีการปรับพื้นฐานก่อนเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.ปลายทั้งหมด พร้อมทั้งโจทย์กว่า 2,000 ข้อ เพื่อช่วยน้องๆในการเตรียมสอบ
คณิตศาสตร์เรื่องที่เราจะต้องเรียนให้ครอบกลุ่มปละรู้ทั้งหมด
- เซ็ต
- ตรรกศาสตร์
- จำนวนจริงและอสมการ
- ความสัมพันธ์และฟังก์ชันเรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย
- ตรีโกณมิติ
- เอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม
- เวกเตอร์
- จำนวนเชิงซ้อน
- การนับและความน่าจะเป็น
- ลำดับและอนุกรม
- ลิมิตและความต่อเนื่อง
- การหาอนุพันธ์
- การหาอินทิเกรต
- สถิติ
- เมทริกซ์
- กำหนดการณ์เชิงเส้น
เด็กโค้งสุดท้ายก่อนสอบ PAT1 แล้ว พร้อมยัง?
ปีนี้ข้อสอบเพิ่มเป็น 5 ตัวเลือก ใครไม่อ่านเลขแล้วกะดิ่งลืมได้เลย ถ้าอยากได้ PAT1 75+ คะแนนผ่านขั้นต่ำรับตรง ให้เลือกอ่านบทที่เน้นสูตร ตามโพยนี้:
▣ สถิติ : บทนี้ออกมากสุด แถมโจทย์ง่ายเยอะ แค่ฝึกสูตรการแจกแจง ค่ากลาง แม่นๆ ก็เก็บ 32+ คะแนนได้
▣ เซต + ตรรกศาสตร์ : สองบทนี้ทวนพร้อมกัน โจทย์ง่ายออกอย่างน้อยบทละข้อแน่นอน แถมเป็นพื้นฐานบทอื่น จำสูตรเปลี่ยนรูปประพจน์ได้ เก็บ 14+ คะแนน
▣ เมทริกซ์ : บทนี้ถามเกี่ยว det สมการเมทริกซ์ อินเวอร์ส แค่จำสูตร det ได้ก็มีสิทธิเก็บ 14+ คะแนน
▣ เวกเตอร์ : โจทย์รูปสามเหลี่ยม ออกตรงๆ จำสูตรการดอทและครอส เก็บ 8+ คะแนน
▣ ความน่าจะเป็น : ให้อ่านเรื่องการเรียงสับเปลี่ยน จำสูตรเรียงของซ้ำ เรียงแบบวงกลมให้ได้ มีสิทธิได้ 12+ คะแนน
▣ แคลคูลัส : บทนี้โบนัสสำหรับ #เด็กซิ่ว ที่เรียนแคลมหาลัยมาแล้วจะได้เปรียบ ใช้สูตรดิฟ อินทิเกรต เก็บ 30+ คะแนน แต่ใครไม่ถนัดแล้วไม่มีเวลา ก็ไม่แนะนำนะ
PAT 3 กับวิศวกรรมศาสตร์
สำหรับน้องทุกคนที่มีความใฝ่ฝันเกี่ยวกับการสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้องทราบถึงความสำคัญของการสอบ PAT3 อย่างแน่นอนเพราะจากรูปแบบการยื่นคะแนนทั้งระบบรับตรงหรือแอดมิชชั่น จะเห็นว่า PAT3 จะแฝงตัวอยู่ในทุกสนามและมีสัดส่วนที่สูงกว่าคะแนนส่วนอื่นเสียด้วยที่นี้มาลองดูรูปแบบคะแนนที่ใช้ยื่นในการสอบรับตรง/แอดมิชชั่นคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในภาพรวมกันก่อน
ทั้งนี้ข้อสอบ PAT 3 จะเป็นโจทย์ 2 รูปแบบ
1.ส่วนของเนื้อหา
ฟิสิกส์
– กลศาสตร์ (แรง มวล และการเคลื่อนที่)
– ไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า
– คลื่น แสง และเสียง
เคมี
– สาร และสมบัติของสาร)
– พลังงาน ความร้อน และของไหล
คณิตศาสตร์
– คณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์เชิงวิศวกรรม
(ข้อมูลจากปี 58 59 และข้อสอบใหม่)
2.ส่วนวัดศักยภาพ
คือ การวัดความรู้ความสามารถเชิงวิศวกรรมประกอบด้วย
– การคิดวิเคราะห์เชิงช่างและมิติสัมพันธ์
– ความถนัดเชิงช่าง
– ความคิดเชิงตรรกะเชิงช่าง
– สามัญสำนึกเรื่องความปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม
– การแก้ปัญหา
– ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“ดังนั้นการเตรียมตัวด้วยการอ่านหนังสือและทำโจทย์ให้มากจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างไรก็ตามน้องหลายคนสงสัยว่าในส่วนวัดศักยภาพจะเตรียมตัวอย่างไรเพราะไม่เคยได้เรียนมาก่อนอ่านเองกลัวว่าจะไม่เข้าใจและเสียคะแนนไปฟรีๆ ตรงจุดนี้พี่มีคำตอบค่ะ”