O-NET

O-NET ป.6, ม.3, ม.6

โอเน็ตมีความสำคัญอย่างไร?

ADMISSION หรือที่ภาษาไทยเรียกกันว่า แอดมิชชั่น คือระบบการคัดเลือกบุคคลที่อยากจะเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งถูกนำมาใช้จริงครั้งแรกในปี ๒๕๔๘ แทนการสอบเอนทรานซ์ในระบบเดิม ซึ่งในระบบใหม่นี้คะแนนของผู้ที่จะถูกคัดเลือกเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษาจะไม่ได้มาจากการสอบเพียงอย่างเดียวทั้งหมดเท่านั้น แต่ยังมีคะแนนบางส่วนจากเกรดเฉลี่ยของที่โรงเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาเข้าศึกษาต่อด้วย

การสอบ O – NET (Ordinary National Educational Test)

O – NET คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการวัดผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับในช่วงชั้นที่ 4 จัดสอบ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่

1 ภาษาไทย
2 คณิตศาสตร์
3 วิทยาศาสตร์
4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5 ภาษาค่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

ลักษณะข้อสอบแ ละการประเมินผล O – NETประกอบด้วย

  1. แบบทดสอบจะมีทั้งปรนัย และอัตนัย ในอัตราส่วนระหว่าง 80% – 90% : 10% – 20%
    ข้อสอบแบบปรนัยจะเป็นข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก สำหรับข้อสอบอัตนัยจะเป็นข้อสอบแบบเขียนคำตอบสั้นๆ (Short Answer)
  2. เวลาในการทำข้อสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง
  3. ข้อสอบแต่ละข้อ คะแนนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความยากง่ายของข้อสอบ
  4. ข้อสอบครอบคลุมสาระและทักษะสำคัญของ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การสอบเป็นบริการของรัฐให้แก่นักเรียนทุกคนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

O-NET ป.6

คณิตศาสตร์ ,วิทยาศาสตร์ , ภาษาไทย , ภาษาอังกฤษ , สังคมศึกษา
เน้นการปูพื้นฐานให้แน่น ตลุยโจทย์เก่าใหม่

บ้านรักเรียน เปิดสอนติวโอเน็ต เอเน็ต ทั้งคอร์สกลุ่มคอร์สเดี่ยว สถาบันตามโรงเรียนทุกโรงเรียน จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เรียนจริง ได้จริง เห็นผลจริง 100 %

“บ้านรักเรียน บ้านแห่งความสำเร็จ”

O-NET ม.3

คณิตศาสตร์ ,วิทยาศาสตร์ , ภาษาไทย , ภาษาอังกฤษ , สังคมศึกษา
เน้นการปูพื้นฐานให้แน่น ตลุยโจทย์เก่าใหม่

O-NETม.6

คณิตศาสตร์ ,วิทยาศาสตร์ , ภาษาไทย , ภาษาอังกฤษ , สังคมศึกษา
เน้นการปูพื้นฐานให้แน่น ตลุยโจทย์เก่าใหม่

แนะนำคอร์ส สำหรับเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย

>>สำหรับโรงเรียน/สถาบัน ที่ต้องการให้ทางเราจัดทีมสอนเพื่อติวสอบO-NET แบบเดี่ยวแบบกลุ่มใหญ่ รบกวนโทรสอบถาม(หรือติดต่อมาทางline) ก่อนนะค่ะ<<

คอร์สนี้จะเป็นในส่วนของการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นระบบAdmission สอบ O-NET สอบตรง , 7 วิชาสามัญ , สอบแพทย์ กสพท.

การสอบ A – NET (Advanced National Educational Test)

A – NET คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง เป็นการวัดความรู้และ ความคิดวิเคราะห์ ซึ่งจะเป็นการวัดความรู้เชิง สังเคราะห์ โดยเน้นทักษะการคิดมากกว่า O-NET ประกอบด้วย

1 ภาษาไทย 2
2 คณิตศาสตร์ 2
3 วิทยาศาสตร์ 2
4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2
5 ภาษาอังกฤษ 2

ลักษณะข้อสอบและการประเมินผล A – NET ประกอบด้วย

  1. แบบทดสอบจะมีทั้งปรนัย และอัตนัย ในอัตราส่วนระหว่าง 60% – 80% : 40% – 20%
    ข้อสอบแบบปรนัยจะเป็นข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก สำหรับข้อสอบอัตนัยจะเป็นข้อสอบแบบเขียนคำตอบสั้นๆ (Short Answer)
  2. เวลาในการทำข้อสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง ยกเว้นวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยเนื้อหาด้าน เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา
    อยู่ในฉบับเดียวกัน ที่ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมง และจะแสดงผลการทดสอบทั้งรวมและแยก
  3. ข้อสอบแต่ละข้อ คะแนนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความยากง่ายของข้อสอบ

 

GPAX

     หรือถ้าจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆก็คือเกรดเฉเลี่ยสะสมของน้องๆนั่นแหละ ซึ่งไม่ว่าจะเข้าคณะไหนก็ตาม GPAX จะมีผลต่อคะแนนรวมถึง 10% เพราะฉะนั้นก็ตั้งใจเรียนในห้องเรียนให้มากๆ(ในทุกวิชา)ด้วยหล่ะ เพราะถ้าไม่ตั้งใจเรียนในห้อง  นอกจากจะเกรดตกแล้ว  คะแนน GPAX  10% ก็จะลดลงไปด้วย

วิธีการคิดคะแนน

  1. เมื่อมีการตรวจกระดาษคำตอบมีวิธีการวิเคราะห์ข้อสอบทุกข้อเพื่อหาคุณภาพขอข้อสอบ ถ้าข้อสอบข้อใดไม่มีคุณภาพตามเกณฑ์ ไม่สามารถวัดหรือจำแนกได้ ข้อสอบข้อนั้นจะไม่นำมาคิดคะแนน ดังนั้นคะแนนที่ได้จะเป็นคะแนนสอบที่ได้มาจากข้อสอบที่มีคุณภาพทุกข้อ
  2. คะแนนผลการสอบจะแปลงคะแนนเป็นคะแนนมาตรฐานรายวิชา

ระยะเวลาและจำนวนครั้งที่จัดสอบ

O-NET จะจัดสอบเพียงครั้งเดียวเมื่อผู้เรียนสำเร็จการศึกาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเรียยร้องแล้ว โดยจะจัดสอบในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ต่อเนื่องกับเดือนมีนาคม ของทุกปี

A-NET ในระยะแรกอาจจัดสอบเพียงครั้งเดียว โดยจัดสอบ ต่อจากการสอบ O-NET แต่ในอนาคตอาจจัดสอบได้มากกว่า 1 ครั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ